เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus
– ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้ตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย
เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน
(อัสวานในปัจจุบัน)
แผนที่โบราณแสดงส่วนของโลกที่มีมนุษย์อยู่อาศัย
(Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล
โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส
เฮอโรโดทัส
เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี พ.ศ. 100 และจากเมืองอาณานิคมธูรินี้เฮอโรโดทัสก็ได้เดินทางไปซิชิลีและอิตาลีตอนล่าง
จากนั้นไปถึงลิเบีย ซีเรีย บาบิโลเนีย เมืองซูซาในอีแลม ลีเดีย
ไพรเจียจนถึงบิแซนเทียม (Byzantium) และมาซิโดเนีย โดยเดินทางทั้งทางบกและทางเรือ
ทางภาคเหนือเฮอโรโดทัสได้ไปถึงแม่น้ำดานูบและไซเธียไปจนถึงทะเลดำ
ซึ่งคงใช้เวลาเดินนานหลายปี ในระหว่างการเดินทางเขาได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
ที่ได้พบเห็นไว้เป็นจำนวนมากและได้นำมาใช้ในการพรรณาทางประวัติศาสตร์ที่ถือว่ายิ่งใหญ่
โดยได้บันทึกสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย
และยังเป็นผู้จัดลำดับเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งยังเป็นที่อ้างอิงกล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน
ซิเซโรขนานนามเฮอโรโดทัสว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์”

โสกราตีส (กรีก:
Σωκράτης; อังกฤษ:
Socrates; 4
มิถุนายน 470 ปีก่อนคริสตกาล — 7
พฤษภาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปราชญ์ของกรีกโบราณและเป็นชาวเมืองเอเธนส์
ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก
ประวัติโสกราตีสเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีผลงานการเขียนอะไร
แต่ตัวตนและความคิดของเขายังคงอยู่ถึงปัจจุบันผ่านงานเขียนของบุคคลอย่าง
อริสโตเติล (Aristotle) เพลโต (Plato) อริสโตฟานเนส
(Aristophanes) หรือ
ซีโนฟอน (Xenophon) นอกจากนั้นยังมีทั้งนักเขียน
นักคิด และนักปราชญ์ที่เก็บเรื่องราวของโสกราตีส อย่างไรก็ตาม
เราไม่สามารถรู้ว่าข้อมูลเรื่องเล่าถึงชีวิตของโสกราตีสนั้นจริงหรือเท็จได้อย่างแน่นอน
ตามธรรมเนียมโบราณ
โสกราตีสนั้นเป็นลูกของโสโฟรนิกัส (Sophronicus) ผู้เป็นพ่อ
และ แฟนาเรต (Phaenarete) ผู้เป็นแม่
โสกราตีสได้แต่งงานกับซานทิปป์ (Xanthippe) และมีลูกชายถึง
3 คน เมื่อเทียบกับสังคมสมัยนั้นซานทิปป์ถึงได้ว่าเป็นผู้หญิงอารมณ์ร้าย
และโสกราตีสเองได้กล่าวว่าเพราะเขาสามารถใช้ชีวิตกับซานทิปป์ได้
เขาใช้ชีวิตกับมนุษย์คนใดก็ได้ เหมือนกับผู้ฝึกม้าที่สามารถทนกับม้าป่าได้
โสกราตีสได้เห็นและร่วมรบในสมรภูมิ และ ตามสิ่งที่เพลโตได้กล่าวว่า
โสกราตีสได้รับเหรียญเกียรติยศสำหรับความกล้าหาญในสมรภูมิรบ
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไม่กล่าวอย่างชัดเจนว่าโสกราตีสประกอบอาชีพใด
ใน"ซิมโพเซียม" (Symposium) ซีโนฟอนกล่าวว่าโสกราตีสใช้ชีวิตกับการสนทนาปรัชญา
โสกราตีสไม่น่าที่จะมีเงินมรดกจากครอบครัวเพราะบิดาของโสกราตีสเป็นเพียงศิลปิน
และตามการบรรยายของพลาโต โสกราตีสไม่ได้รับเงินจากลูกศิษย์
อย่างไรก็ตามซีโนฟอนกล่าวใน "ซิมโพเซียม" ว่า
โสกราตีสรับเงินจากลูกศิษย์ของเขา และอาริสโตฟานเนสก็เล่าว่าโสกราตีสได้เปิดโรงเรียนของตนเอง
ข้อสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ
โสกราตีสเลี้ยงชีพผ่านเพื่อนที่ร่ำรวยของเขา เช่น เอลซีไบเดส (Alcibiades)
เพลโต
(ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, อังกฤษ:
Plato) (427 -
347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก
เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน
และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์
เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี
แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก
โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่
ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม
งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย
ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย
หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้
ในบทสนทนาของเพลโลนั้น
บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก
ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส
และส่วนใดเป็นของเพลโต
แอริสตอเติล (กรีก:
Αριστοτέλης;
อังกฤษ: Aristotle) (384
ปีก่อนคริสตกาล – 7
มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต
และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช เขาและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดคนหนึ่ง
ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ ตรรกศาสตร์ กวีนิพนธ์
สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา
นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือแอริสตอเติล
เพลโต (อาจารย์ของแอริสตอเติล) และโสกราตีส
(ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต)
พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส
จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน
โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ
เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่น ๆ
ผลงานของเพลโตและแอริสตอเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ
แอริสตอเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา
ในสาขาวิทยาศาสตร์ แอริสตอเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ
สัตววิทยา ในด้านปรัชญา แอริสตอเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์
และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม
และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว
สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก
งานสถาปัตยกรรมกรีกแบ่งตามลักษณะหัวเสา
3 แบบใหญ่
ๆ คือ
งานทางด้านประติมากรรมของกรีก
นิยมสร้างสรรค์แนวเหมือนจริง (Realistic) โดยเฉพาะสรีระของคนเรา
ชาวกรีกถือว่ามีความงดงามยิ่ง
ชาวกรีกจึงนิยมปั้นและแกะสลักรูปคนเปลือยกายไว้มากมาย งานประติมากรรมลอยตัวที่มีชื่อเสียง
ได้แก่ เทพธิดาวีนัส (Venus) รูปเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) รูปนักกีฬาไมรอน
(Myron) ประติมากรรมโลหะสัมฤทธิ์รูปเด็กหนุ่ม
เป็นรูปเปลือยที่มีส่วนสัดของร่างกาย ตลอดจนการจัดวางท่วงท่าได้อย่างงดงาม
จิตรกรรม
กรีกไม่นิยมสร้างผลงานจิตรกรรม
เขาถือว่าจิตรกรรมไม่สามารถถ่ายทอดรูปแบบที่มีลักษณะที่แท้จริงได้
ดังนั้นงานจิตรกรรมของกรีก จึงออกมาในรูปแบบการตกแต่ง เช่น
ภาพเขียนตามผนังหรือบนภาชนะต่างๆ เรื่องราวที่นำมาเขียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเล่า
จิตรกรรมของกรีกที่รู้จักกันดีก็มีแต่ภาพวาดระบายสีตกแต่งผิวแจกันเท่านั้นที่ชาวกรีกนิยมทำมาจนถึงพุทธศตวรรษที่
1เป็นภาพที่มีรูปร่างที่ถูกตัดทอนรูปจนใกล้เคียงกับรูปเรขาคณิต
มีความเรียบง่ายและคมชัด สีที่ใช้ได้แก่ สีดิน คือเอาสีดำอมน้ำตาลผสมบางๆ
ระบายสีเป็นภาพบนพื้นผิวแจกันที่เป็นดินสีน้ำตาลอมแดง แต่บางทีก็มีสีขาว
และสีอื่นๆ ร่วมด้วย เทคนิคการใช้รูปร่างสีดำ ระบายพื้นหลังเป็นสีแดงนี้
เรียกว่า “จิตรกรรมแบบรูปตัวดำ” และทำกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่
1 มีรูปแบบใหม่ขึ้นมาคือ “จิตรกรรมแบบรูปดัวแดง” โดยใช้สีดำอมน้ำตาลเป็นพื้นหลังภาพ
ตัวรูปเป็นสีส้มแดง หรือสีน้ำตาลไม้ ตามสีดินของพื้นแจกัน
ศิลปกรรมของกรีกที่สำคัญได้แก่ งานสถาปัตยกรรม
อาทิ วิหาร สนามกีฬา หอประชุม และสถานที่แสดงอุปรากร วิหารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ
วิหารพาร์เธนอน (Parthenon)
บล็อคเกอร์นี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น!!